“ไทยภักดี ยื่น ศาล รธน.พิจารณา การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ตั้ง ส.ส.ร. เพื่อร่างใหม่ทั้งฉบับ เข้าข่ายล้มล้างการปกครองหรือไม่ ยก4เหตุผลนำเสนอศาล ขอให้มีคำสั่งระงับการบรรจุวาระที่2และ3 /เพิกถอนมติขั้นรับหลักการ และให้ฝ่ายค้านและรัฐบาลถอนระเบียบออกจากที่ประชุมรัฐสภา ย้ำหากแก้ไขรายมาตราที่เป็นปัญหาสามารถทำได้”
กลุ่มไทยภักดี นำโดย นายแพทย์วรงค์ เดชกิจวิกรม แกนนำกลุ่มฯ เดินทางมายื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ โดยใช้สิทธิ์ตาม ม.49 กรณีการตั้ง ส.ส.ร.เพื่อร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ อาจเข้าข่ายล้มล้างการปกครอง
โดยนายแพทย์วรงค์ บอกว่า ก่อนหน้านี้กลุมไทยภักดีได้ยื่นเรื่องต่ออัยการสูงสุด เมื่อวันที่17 พ.ย. และครบกำหนด15วันเมื่อวานนี้ครบกำหนด แต่อัยการสูงสุดไม่ได้ดำเนินการต่อให้ จึงใช้สิทธิยื่นตรงต่อศาลรัฐธรรมนูฯ ซึ่งเหตุผลในการยื่นที่ทางกลุ่มมองว่าล้มล้างการปกครองนั้น เพราะ
1.การแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับนี้ใช้สิทธิตาม ม.256 โดยแก้ไขให้การแก้รัฐธรรมนูญง่ายขึ้น ซึ่งปกติ รัฐธรรมนูญปี2560 กำหนดสัดส่วนการลงมติด้วย ส.ว.และ ส.ส.แต่การแก้ไขครั้งนี้ตัดสิทธิออกจึงทำให้ขาดการมีส่วนร่วมของสมาชิกรัฐสภา และมีการยกเลิการทำประชามติในมาตรสำคัญ จึงทำให้เป็นการตัดการมีส่วนร่วมของประชาชนออกไป จึงมองว่ากระบวนการตัดสิทธิเหล่านี้เข้าข่ายล้มล้างการปกครอง
2.การร่างรัฐธรรมนูญครั้งนี้เป็นการร่างใหม่ทั้งฉบับ ทำให้ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญทั้ง10ฉบับต้องถูกยกเลิก นั่นหมายความว่า ส.ส.และ ส.ว.ตามรัฐธรรมนูญ ฉบับนี้ต้องถูกนกเลิก ศาลและองค์กรอิสระตามรัฐธรรมก็ต้องถูกยกเลิก จึงทำให้โครงสร้างทางการเมืองและการปกครองมีการเปลี่ยนแปลง รวมถึง วิธีพิจารณาคดีของศาลรัฐธรรมนูญ วิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองก็จะถูกยกเลิกไปด้วย จะส่งผลให้คดีต่างๆที่เกี่ยวกับการทุจริตประพฤติมิชอบทั้งที่พิจารณาไปแล้ว และอยู่ระหว่างพิจารณา หลุดพ้นความผิด เพราะข้ออ้างกฎหมายที่ใช้บังคับถูกยกเลิก
3.บทบัญญัติการแก้ไขรัฐธรรมนูญกำหนดไว้ชัดเจน ว่าเป็นการแก้ไขรายมาตรา การตั้ง ส.ส.ร.เพื่อยกร่างฉบับใหม่ไม่ได้กำหนด จึงถือว่า ผู้กระทำการมีเจตนาที่ขัดต่อบทบัญญัติของกฎหมาย
4.และเนื่องจากรัฐธรรมนูญปี2560 ผ่านการทำประชามติ และศาลรัฐธรรมนูญเคยมีคำวินิจฉียเป็นบรรทัดฐานไว้ว่า การที่จะมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ จะต้องให้ประชาชนผู้มีอำนาจได้ลงประชามติก่อนว่าสมควรมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่
ซึ่งทั้ง4เหตุผลที่กล่าวมาจึงเป็นเหตุผลที่เพียงพอว่า ขณะนี้มีการกระทำที่ล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงเดินทางมายื่นหนังสือเพื่อต้องการมห้ศาบรัฐธรรมนูญทีคำวินิจฉัยและสั่งการใน3ข้อ คือ ให้ประธานรัฐสภาระงับการบรรจุวาระการแก้ไขรัฐธรรมนูญในวาระที่สองและสาม /ขอให้ผู้ถูกร้อง คือ ร่างของ ส.ส.ฝ่ายค้าน และ ร่างของ ส.ส.ฝ่ายรัฐบาล ถอนระเบียบวาระออกจากที่ประชุมรัฐสภา /และขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนมติในชั้นรับหลักการ เมื่อวันที่ 18 พ.ย.ที่มีมติรับหลักการทั้งสองฉบับ
ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของศาลว่าจะรับคำร้องหรือไม่ และจะมีการพิจารณาอย่างไร
นายแพทย์วรงค์ ยังย้ำด้วยว่า หากจะล้มล้างทั้งฉบับก็ควรจะต้องถามประชาชนก่อน แต่ถ้าจะแก้รายมาตราในประเด็นไหนที่ไม่ดีก็สามารถทำได้ เช่น ส.ว.250คน หากไม่ดีก็สามารถแก้ไขเฉพาะมาตรานี้