นายนิกร จำนง ประธานคณะอนุกรรมการจัดทำรายงานในกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมก่อนรับก่อนรับหลักการ เปิดเผยถึงแนวทางการตั้งคณะกรรมการสมานฉันท์หาทออกของประเทศว่า พลเอกประยุทธ์จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้สนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญรวมถึงการเสนอตั้งคณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อหาทางออกทางการเมืองร่วมกัน
โดยส่วนตัวมองว่าควรตั้งเป็นคณะกรรมการ แต่อย่าตั้งเป็นคณะกรรมาธิการ เพราะจะมีสัดส่วนของฝ่ายการเมืองที่มาจาก 3 ฝ่าย คือรัฐบาล ฝ่ายค้าน และ ส.ว. ซึ่งจะล้มเหลวก่อนจะตั้งกรรมาธิการ
นอกจากนี้ยังอยากให้คณะกรรมการชุดนี้เป็นการเปิดพื้นที่ให้กับทุกฝ่ายได้มาร่วมพูดคุยหาทางออกร่วมกัน แต่ไม่อยากให้ประชาชนตั้งความหวังไว้มากนักเพราะกรรมการชุดนี้ ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ทั้งหมด
นายนิกร ยังกล่าวว่า คณะกรรมการชุดนี้ไม่ใช่กันชนของรัฐบาลแต่เป็นพื้นที่กลางที่จะให้ทุกคนทุกฝ่ายมาร่วมพูดคุยกัน โดยมีผู้ใหญ่มาเป็นตัวประสานงานในการพูดคุยกัน ซึ่งทำให้แต่ละฝ่ายสามารถกลับไปคุยกันในฝ่ายของตัวเองได้
ส่วนประเด็นที่กลุ่มผู้ชุมนุมคณะราษฎร 2563 ออกมาปฏิเสธเข้าร่วมในการพูดคุยไหน นายนิกร มองว่าอยากให้กลุ่มผู้ชุมนุมมาพูดคุยเพื่อหาทางออกร่วมกันเพื่อเปิดพื้นที่ แต่แม้ว่า กลุ่มผู้ชุมนุมไม่เข้าร่วมในการพูดคุย ส่วนตัวก็มองว่าที่มีอยู่ก็สามารถคุยกันได้ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายการเมือง ฝ่ายรัฐบาล รวมถึงนักวิชาการ
กรณีที่ม็อบมองว่า รัฐบาล ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาเพื่อซื้อเวลาและไม่จริงใจในการแก้ปัญหา ส่วนตัวมองว่ารัฐบาลมีความจริงใจและพยายามหาทางออกของประเทศ ปัญหาในปัจจุบันนี้จะต้องหาทางออกโดยกลุ่มคนที่เป็นตัวกลางในกาาหาทางออกร่วมกัน แต่ไม่ใช่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง กลุ่มคนนั้นจะต้องมีประสบการณ์เป็นผู้ใหญ่และมีเจตนาที่ดีต่อบ้านเมือง
ขณะที่การประชุมรัฐสภาเพื่อพิจารณาร่างแก้รัฐธรรมนูญในวันที่ 17 -18 พฤศจิกายนนี้ นายนิกรกล่าวว่าจะพิจารณาลงมติวาระรับหลักการทั้ง 7 ร่างคราวเดียวกัน โดยรวมกฎหมายของกลุ่มไอลอว์เข้าไปด้วย และจากนั้นเพื่อการเร่งรัดการแก้รัฐธรรมนูญจะพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ที่รัฐบาลเสนอร่างมาพิจารณาลำดับถัดไป ซึ่งสะท้อนถึงเจตจำนงของรัฐบาลในการแก้กฎหมาย โดยรอประธานรัฐสภากำหนดวาระประชุมอีกครั้ง
และหากมีการรับหลักการร่างแก้รัฐธรรมนูญจะมีการตั้งกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาในชั้นแปรญัตติจำนวน 45 คนตามสัดส่วน ส.ส.ฝ่ายรัฐบาล-ฝ่ายค้าน และ ส.ว.