“วิษณุ” ไม่ห่วงศาลรัฐธรรมนูญ

Highlight, การเมือง
5 พฤศจิกายน 2020

“วิษณุ” ไม่ห่วงศาลรัฐธรรมนูญ ตัดสินคดีบ้านหลวงนายกฯ บอกบิ๊กตู่ ทำการบ้านตั้งแต่ ม.ค.-ก.พ.โนคอมเมนท์ ก่อนศาลตัดสิน เกรงไร้มารยาท กลัวถูกมอง ชี้นำ

นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึง กรณี ศาลนัดอ่านคำพิพากษาบ้านพักของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในพื้นที่เขตทหาร ว่า นายกรัฐมนตรีไม่ได้ปรึกษาอะไร และเป็นเรื่องที่นานมาแล้ว แลส่วนตัวไม่ขอแสดงความคิดเห็นใดเพราะ ศาลจะวินิจฉัยในวันที่ 2 ธันวาคม นี้แล้ว และทราบว่า ทางกองทัพบกได้ชี้แจงทางศาลไปตั้งแต่ เดือนกุมภาพันธ์ 2563 แล้ว และไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง เพราะเรื่องนี้มีหลักเกณฑ์อยู่ และไม่ขอพูดว่า หากผลตัดสินออกมาทางใดทางหนึ่งจะเป็นอย่างไรต่อไป “พอพูดไปแล้วเดี๋ยวเหมือนที่ศาลตัดสินออกมา จะหาว่าชี้นำ เรื่องนี้เป็นเรื่องกฎระเบียบของทหารนายกรัฐมนตรีต้องไปว่ากันเอง แต่ทราบว่า นายกเตรียมตัวมาตั้งแต่เดือนมกราคม ตั้งมีการยื่นเรื่องให้ศาล” นายวิษณุ ระบุว่า จะมาพูดตอนใกล้ศาลตัดสิน เป็นเรื่องที่ไม่มีมารยาท ไม่ว่าจะพูดอย่างไรว่าจะบวกหรือลบ ก็ขอให้ศาลตัดสิน

ส่วนกรณี ที่นางสาวปารีณา ไกรคุปต์ สส ราชบุรี สมาชิกพรรคพลังพลังประชารัฐ ในคดีรุกป่า และมีการแจ้งข้อกล่าวว่า กับนางสาวปารีณา นั้น นายวิษณุ กล่าวว่า ไม่รู้ ไม่ได้ติดตามเรื่องและไม่มีใครมาบอก

ด้านการตั้งคณะกรรมการปรองดอง สมานฉันท์ ที่ดูเหมือนจะไม่คลอดได้ นายวิษณุ กล่าวว่า ไม่ทราบ เอาใจช่วย แต่หากไม่สามารถตั้งได้ก็ไม่ทราบว่าจะทำอย่างไร เรื่องนี้เป็นอำนาจของประธานรัฐสภา ขออย่าสงสัย เพราะเป็นไปตาม ข้อบังคับ (5) (6) ขอให้ประธานรัฐสภาดำเนินการไป “แล้วท่านก็ไม่ใช่อยู่ดีดีลุกขึ้รฟิตจัด อยากทำเอง ก็ในสภาโยนไปให้ทั้งนั้น ทั้งรัฐบาล ฝ่ายค้าน และสมาชิกวุฒิสภาด้วย ดังนั้น ประธานรัฐสภา จึงอยู่เฉยไม่ได้ ส่วนจะไปต่อหรือไม่ ขออย่าพูดอะไรตอนนี้ ซึ่งอาจได้ผลขั้นต้นได้ คือมีตัวบุคคลเข้ามานั่งคุย ขั้นที่ 2 คือ สิ่งที่เป็นข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการชุดนี้ปล่อย ให้เขาทำงาน ถ้าติเรือทั้งโกลนลุกขึ้นตีปี๊บ สุดท้าย เรือล่มเมื่อจอด ตาบอดเมื่อแก่ หากกระหึ่มกันว่า โอ้ยไม่สำเร็จหรอก ผมเป็นท่านประธานชวน ก็ไม่อยากทำ”

ส่วนโครงสร้างจำเป็นต้องมีผู้ส่วนได้ส่วนเสีย อย่างกลุ่มผู้ชุมนุมด้วยหรือไม่ นายวิษณุ ระบุ สถาบันพระปกเกล้ากำลังออกแบบอยู่ ในโลกนี้คนที่เป็นคู่กรณีขัดแย้งกันมีความคิดเสนอแบบนี้มาหลายสูตรแล้ว แต่ปัญหาของไทยไม่เหมือนปัญหาของประเทศอื่นๆ ถ้าคนสองกลุ่มขัดแย้งกัน วิธีการแก้ปัญหา ของ สอง คนนี้เป็นอีกแบบหนึ่ง แต่นี้กลายเป็นว่า ต้องเริ่มต้นว่าใคร ใครไปขัดแย้งกับใคร เหมือนที่นายกรัฐมนตรีบอกว่า อยากเชิญมาคุย แต่ไม่รู้ว่าจะเชิญใคร ไม่รู้จะพูดกับคนที่อยู่เบื้องหน้า หรือเบื้องหลัง อย่างที่ซุปเปอร์โพลออกมาความเห็นว่า แต่ละฝ่ายมีผู้อยู่เบื้องหลัง อย่างนี้ยิ่งต้องทำให้คิดว่า หากไม่นำคนที่อยู่เบื้องหลังมานั้งคุยด้วย เอาแต่เบื้องหน้าจะได้อะไร เราต้องคุยถึงสาเหตุ

บทความที่เกี่ยวข้อง