“ชัยชาญ” ชี้แจงการจัดหาเรือดำน้ำไม่จำเป็นต้องใช้หนังสือมอบอำนาจเต็ม เพราะเป็นสัญญาซื้อขายเชิงพาณิชย์ระหว่างรัฐบาลต่อรัฐบาล ย้ำทุกขั้นตอนเป็นไปตามระเบียบ

Highlight, การเมือง
9 กันยายน 2020

พลเอกชัยชาญ ช้างมงคล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ชี้แจ้งกรณีการจัดหาเรือดำน้ำของกองทัพเรือ โดยเฉพาะลำที่หนึ่ง ที่เป็นการจัดหาในปี 2560 นั้น เป็นการจัดหายุทโธปกรณ์และการบริการทางทหารจากมิตรประเทศในลักษณะของรัฐต่อรัฐ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติไว้เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2530 ให้ส่วนราชการในสังกัดหนักหน่วงกำลังผมดำเนินการได้โดยยกเว้นการปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ ที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติใช้และแก้ไขเพิ่มเติม รวมทั้งมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องโดยให้ใช้ข้อตกลงที่กำหนดขึ้นโดยความเห็นชอบร่วมกันระหว่างกันแทนการทำสัญญาได้

ส่วนการดำเนินการนี้เป็นไปตามการดำเนินการแบบรัฐต่อรัฐหรือไม่นั้น ในการจัดหาเรือดำน้ำระยะที่หนึ่ง กองทัพเรือเป็นการดำเนินการโดยรัฐบาลต่อรัฐบาล และได้มีการดำเนินการตามกฏหมายตามระเบียบ ตามข้อบังคับของทางราชการทุกขั้นตอน เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี และได้ผ่านการพิจารณาด้านกฎหมายจากหน่วยที่รับผิดชอบที่เกี่ยวข้อง ทั้งกระทรวงการต่างประเทศ สำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานงบประมาณ

ส่วนที่มีข้อสงสัยว่าหากเป็นการดำเนินการแบบรัฐบาลต่อรัฐบาล เหตุใดจึงไม่นำร่างข้อตกลงเสนอความเห็นชอบต่อรัฐสภาและไม่มีการขอหนังสือมอบอำนาจเต็ม(Full Powers) พลเอกชัยชาญ ชี้แจงว่า ในขั้นตอนของการร่างข้อตกลงนั้นกระทรวงการต่างประเทศได้ให้ข้อพิจารณาว่าข้อตกลงดังกล่าวนั้นกำหนดอยู่ภายใต้ข้อบังคับของกฎหมายไทยจึงไม่ได้เป็นสนธิสัญญาตามกฏหมายระหว่างประเทศ ดังนั้นจึงไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 23 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) ปี 2557 แต่เป็นสัญญาเชิงพาณิชย์ เป็นสัญญาซื้อขายระหว่างรัฐบาลต่อรัฐบาลซึ่งในช่วงเวลาที่กระทรวงการต่างประเทศพิจารณาข้อตกลงนั้นอยู่ในช่วงของการใช้รัฐธรรมนูญแห่งรัชนจากไทย ฉบับชั่วคราวอยู่ แต่วันที่กองทัพเรือไปลงนามนั้น รัฐธรรมมนูญฉบับ 2560 ได้มีผลบังคับใช้แล้ว ซึ่งตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมีเนื้อหาสาระเช่นเดียวกับมาตรา 23 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ในขั้นตอนการเสนอเรื่องให้คณะรัฐมนตรีพิจารณานั้นสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้พิจารณาการดำเนินการจัดหาเรือดำน้ำประกอบมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และหลักเกณฑ์การพิจารณาความหมายและองค์ประกอบของคำว่าหนังสือสัญญาตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่6-7/ 2551 แล้วเห็นว่าร่างข้อตกลงดังกล่าวนั้นมีลักษณะเป็นลักษณะการทำสัญญาซื้อขายในเชิงพาณิชย์ในทำนองเดียวกันกับการทำสัญญาระหว่างเอกชนกับเอกชนจึงไม่ได้อยู่ในสายตาบังคับของกฎหมายระหว่างประเทศและไม่ได้เข้าลักษณะเป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 ดังนั้นเมื่อข้อตกลงฉบับนี้ไม่ได้ลักษณะของหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 แต่เป็นสัญญาเชิงพาณิชย์ที่เป็นสัญญาซื้อขายระหว่างรัฐบาลต่อรัฐบาล จึงไม่ต้องขอความเห็นชอบจากรัฐสภาและไม่ต้องใช้หนังสือมอบอำนาจเต็มในการลงนามในข้อตกลงซึ่งเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2556 เรื่องหลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการออกหนังสือมอบอำนาจเต็มที่กำหนดไว้ว่าการจัดทำความตกลงในน้ำหน่วยงานของรัฐกับหน่วยงานของรัฐต่างประเทศหรือองค์กรระหว่างประเทศภายใต้อำนาจหน้าที่ตามกฏหมายของหน่วยงานนั้นโดยไม่ก่อให้เกิดพันธกรณีภายใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศไม่ต้องมีหนังสือมอบอำนาจเต็ม และผู้มีอำนาจลงนามของหน่วยงานนั้นหรือผู้ได้รับมอบหมายสามารถลงนามได้ ดังนั้นกองทัพเรือสามารถลงนามในข้อตกลงนี้ได้โดยไม่ต้องมีหนังสือมอบอำนาจเต็มเนื่องจากไม่ได้เป็นสนธิสัญญาและไม่ได้เกิดพันธะทางกฎหมายระหว่างประเทศ

ส่วนคำถามที่ว่าทำไมผู้ลงนามในข้อตกลงฝ่ายไทยจึงเป็นเสนาธิการทหารเรือ ขณะที่ฝ่ายจีนผู้แทนจากCSOC แล้วทำไมข้อตกลงเดิมได้จ่ายเงินให้กับบริษัทเอกชนในเมื่อทำข้อตกลงในนามรัฐบาลจีน ขอชี้แจงว่าในส่วนของรัฐบาลไทยนั้นและคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้ผู้บัญชาการทหารเรือหรือผู้แทนเป็นผู้ลงนามในข้อตกลงตามมติคณะรัฐมนตรีซึ่งผู้บัญชาการทหารเรือได้มอบให้กับประธานคณะกรรมการจัดหาเรือดำน้ำหรือเสนาธิการทหารเรือในขนาดนั้นเป็นผู้ลงนามในข้อตกลง ส่วนทางฝ่ายจีนนั้นรัฐบาลจีนได้มอบหมายให้องค์การบริหารงานของรัฐด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ(SASTIND) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ขึ้นตรงกับรัฐบาลจีนรับผิดชอบในการดำเนินการโครงการเป็นหน่วยงานของรัฐมีหน้าที่รับผิดชอบในเรื่องของอุตาสาหกรรมป้องกันประเทศของจีนและได้มอบอำนาจให้กับCSOC ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจที่รัฐบาลจีนเป็นเจ้าของเป็นผู้แทนรัฐบาลจีน ซึ่งบริษัทนี้รับผิดชอบในฐานะผู้แทนรัฐบาลจีนในเรื่องของการหาเรื่องเทคนิคราคา ตลอดจนการเจรจาและลงนามในข้อตกลง

ส่วนที่ว่าทำไมข้อตกลงในการจ่ายเงินให้กับบริษัทเอกชนในเมื่อทำข้อตกลงกับรัฐบาลจีนทำไมถึงจ่ายเงินให้กับบริษัทเอกชน ต้องชี้แจงว่าการดำเนินการต่อเรือในครั้งนี้ SASTIND ได้เหมาะกับหน้าเต็มให้กลับในการยื่นข้อเสนอและเทคนิคต่างๆให้กับ CSOC ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจของรัฐมาในนามของรัฐบาลจีนในการใช้จ่ายค่าก่อสร้างจึงได้โอนไปในบัญชีของCSOC ตามงวดการชำระเงินที่อยู่ในข้อตกลง ดังนั้นต้องแยกกันว่าเรือดับเพลิงไม่เหมือนกันกับการต่อเรือดำน้ำ ซึ่งการดำเนินการของเรือดำน้ำเป็นไปตามระเบียบขั้นตอนการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องและได้รับการพิจารณาจากทุกหน่วยโดยเฉพาะกระทรวงการต่างประเทศ รวมถึงคณะกรรมการกฤษฎีกาก็ได้ให้ความเห็นทุกครั้งในแต่ละขั้นตอน

บทความที่เกี่ยวข้อง