“คุณหญิงสุดารัตน์” จี้ รัฐเร่งรับผิดชอบปมบัตรทอง ทำประชาชนเดือดร้อนกว่า 8 แสนคน เปรียบ ยุค “ทักษิณ” ค่าหัวแค่ 1,300 บาท แต่ยุคนี้เลยเถิดไป 3-4 พันบาท

Highlight, การเมือง, สังคม
21 กันยายน 2020

คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ประธานยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทย พร้อมด้วย นายประเดิมชัย บุญช่วยเหลือ ส.ส.กทม. พรรคเพื่อไทย ร่วมแถลงข่าว ถึงการติดตามการทำงานของ สํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เกี่ยวกับการให้บริการคลินิกชุมชน ที่พบการทุจริตการใช้บัตรทอง

โดยนายประเดิมชัย กล่าวว่า จากการติดตามตรวจสอบพบว่ามีการทุจริตเบิกจ่ายงบประมาณโดยการจัดทำเอกสารปลอม โดยไม่มีการให้บริการกับประชาชนจริง เช่น การตรวจผลเลือดที่ไม่ได้นำเอาผลเลือดไปตรวจแล้วนำข้อมูลมาเบิกจ่ายงบประมาณในปี 2562 ทั้งหมด 18 คลีนิคแล้วมาทำการเบิกจ่ายงบประมาณ 74 ล้านบาท โดย 18 คลินิกเมื่อตรวจย้อนหลัง 10 ปีได้มีการเบิกจ่ายงบประมาณไปถึง 2,913 ล้านบาท แต่ากการตรวจสอบ พบว่ามีการเรียกคืนเงินแค่ปีเดียวคือปี 2562 จำนวน 74 ล้านบาท พร้อมเรียกร้องให้ สปสช.เร่งเรียกเงินเบิกจ่ายที่เหลือคืนโดยเร็ว

นอกจากนี้ ยังมีคลีนิคอื่นที่ไม่ใช่คู่สัญญากับสปสช. กว่า 100 สาขา ที่มีผู้บริหารเป็นคนของสปสช.มีการเบิกจ่ายต่อปี 30-40 ล้านบาท ซึ่งเป็นสิ่งที่ปิดปกติ และต้องสงสัยว่ายังไม่ได้รับการตรวจสอบจนถึงขนาดนี้ โดยตนได้นำข้อมูลนี้เรียกร้องในการอภิปรายในสภาที่มีการพิจารณาร่างงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2564 วาระ 2 และวาระ 3 แล้ว และในวันพุธนี้ เตรียมเสนอเรื่องให้ พลตำรวจเอกเสรีพิศุทธ์ เตมียเวส ประธานคณะกรรมาธิการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ บรรจุเรื่องนี้เข้าวาระการประชุมของ กมธ. เพื่อเรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าให้ข้อมูล ก่อนรวบรวมยื่นเสนอต่อ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)ให้มีการตรวจสอบต่อไป

ด้านคุณหญิงสุดารัตน์ กล่าวว่า เมื่อเปรียบเทียบช่วงที่ตนเองดูแลโครงการนี้มีการจัดสรรงบประมาณคิดค่าดูแลรักษาพยาบาลต่อคน. 1300 บาท และมีการจัดสรรงบประมาณไปให้โรงพยาบาลเป็นผู้ดูแลโดยตรง แต่ปัจจุบันกลับเพิ่มขึ้น เป็น 3-4 พันบาท และงบประมาณก็อยู่กับส่วนกลางไม่ได้กระจายลงสู่โรงพยาบาลในพื้นที่ จึงเป็น เปิดช่องให้มีการทุจริตเกิดขึ้น และเห็นว่าการจะการ หลังการที่พบการทุจริต โดยให้มีการปิดกิจการ เป็นการดำเนินการที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งงบประมาณที่มาจะถูกแบ่งออกแค่ 3 กลุ่ม เท่านั้น และทั้ง 3 กลุ่มก็เป็นอดีตผู้บริหาร ผู้บริหารและเอกชน ร่วมกันล็อคสเปคคลีนิกที่จะเข้าร่วมโครงการ

อย่างไรก็ตาม การตรวจสอบการทุจริตที่เกิดขึ้นไม่มีความคืบหน้า ซึ่งเป็นการดำเนินการแบบลูบหน้าปะจมูก การยกเลิกคลีนิค เป็นการยกเลิกที่ไม่มีการสืบสวนก่อน ไม่มีโรงพยาบาลรองรับ หรือสถานพยาบาล ซึ่งเป็นการเพิ่มภาระให้กับประชาชนและสถานพยาบาลที่มีอยู่แล้ว ที่อาจจะไกลจากผู้ป่วย รวมถึงผู้ป่วยเรื้อรังเมื่อย้ายสถานพยาบาลจะเกิดปัญหากับผู้ป่วยทันที

ดังนั้นวันนี้การแก้ปัญหานี้คือต้องลากไปจนถึงต้นตอทั้งอดีตผู้บริหารสปสช., ผู้บริหารสปสช. รัฐบาลต้องแก้ไขปัญหาเรื่องนี้อย่างเร่งด่วนและถูกต้องการสั่งปิดแล้วไม่ดำเนินคดีไม่สามารถที่จะนำคนผิดมาลงโทษได้ และต้องดำเนินการอย่างเด็ดขาด และขอเสนอว่าค่าใช้จ่ายรายหัวต้องเป็นสิทธิของประชาชน ที่จะเลือกใช้สถานพยาบาลใดก็ได้ในพื้นที่ ดำเนินการเร่งหาสถานพยาบาลให้กับกลุ่มประชาชน 8 แสนคน ที่กำลังเดือดร้อนอยู่ขณะนี้ และเปิดคลีนิคปฐมภูมิเพิ่มขึ้นจากผู้บริหารชุดใหม่ที่โปร่งใส

บทความที่เกี่ยวข้อง