นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงภารกิจการลงพื้นที่ของนายกรัฐมนตรี ในการประชุมครม.สัญจร จ.ระยอง และ จ.จันทบุรี ซึ่งก่อนการเดินทางจะมีการประชุมมางไกลวิดีโอคอนเฟอเร้น ตามกรอบความร่วมมือแม่โขงล้านช้างครั้งที่ 3 โดยมีประเทศจีน ลาว เวียดนาม เมียนมา ไทย โดยใช้เวลา 2 ชั่วโมง ตั้งแต่เวลา 08.30-10.30 น. โดยการประชุมในครั้งนี้จะเป็นการต่อยอดโดยจีนเข้ามาดูลุ่มแม่น้ำโขงเพิ่มเติม เน้นสร้างความเข้าใจที่ตรงกัน เคารพการมีกฎระเบียบ และผลักดันกฎบัตรอาเซียน พร้อมกับจัดตั้งโครงการภายใต้กองทุนพิเศษแม่โขงล้านช้าง เป็นโครงการขนาดเล็กไม่เกิน 200 ล้านเหรียญ ยูเอสดอนล่าสหรัฐและเพิ่มเส้นทางเศรษฐกิจในกลุ่มแม่น้ำโขง ทั้งทางบกและทางทะเล และยกระดับการแลกเปลี่ยนทางสังคมและสัฒนธรรม
ซึ่งนายกรัฐมนตรีให้ความสำคัญหารบริหารจัดการน้ำในลุ่มแม่น้ำโขงให้เข้าถึงแหล่งน้ำได้ตลอดทั้งปี และยังมีการเจรจาความร่วมมือด้านสาธารณสุขโดยเฉพาะวัคซีน ที่ไม่ใช่เฉพาะวัคซีนป้องกัน โควิด-19 แต่รวมถึงรวมถึงวัคซีนทั่วไป และผลักดันให้วัคซีนป้องกันโควิด -19 ให้เป็นสาธารณะประโยชน์ ไม่ใช่สินค้าทำกำไร
ทั้งนี้ในช่วงบ่ายนายกรัฐมนตรีจะลงพื้นที่จ.ระยอง การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมการขนส่ง อย่างโครงการมอเตอร์เวย์ ช่วงพัทยา- มาบตาพุด และมีการเดินทางด้วยเครื่องบิน ตรวจเยี่ยมศูนย์EOC หรือ ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน เพื่อรองรับTravelBubble ในอนาคต หลังจากนั้นเยี่ยมชมตลาดเทศบาลบ้านเพ ตลาดร้อยเสา ที่มีสินค้าครบวงจร พร้อมตรวจวิธีกลุ่มประมงเรือเล็กพื้นบ้านหาดสวนสน
และในวันอังคารจะเริ่ม 07.30 น. จะเปิดโอกาสให้มีการแสดงผลงานนวัตกรรมอีอีซี และเป็นสักขีพยานการมอบเอกสารที่ดินทำกิน และจะเป็นการประชุมกลุ่มพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคตะวันออก และจะเริ่มการครม. 10.30 น. โดยหลังจากนั้นจะเดินทางไปจันทบุรี เยี่ยมโครงการนำร่องการผลิตแบริเออร์และถนนหุ้มด้วยยางพารา
ทั้งนี้การลงพื้นที่จ.ระยอง จะยังไม่มีการจัดเวทีรับฟังนักศึกษาในพื้นที่แต่อย่างใด เนื่องจากภารกิจค่อนข้างแน่น ซึ่งความคืบหน้าของโครงการที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายให้สภาพัฒน์ฯ จัดเวทีทั่วประเทศนั้น ขณะนี้ตนยังไม่ทราบในรายละเอียด
ส่วนมองอย่างไรที่ส.ส.ฝั่งรัฐบาลขัดแย้งและเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีลาออกนั้น นายอนุชา มองว่า ขณะนี้ทุกอย่างดำเนินไปด้วยดี หากดูในเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ต้องรอผลการศึกษาว่าผลสรุปกรรมาธิการน่าจะเป็นประโยชน์มากที่สุด ซึ่งต้องทำความเข้าใจกัน เนื่องจากส.ส.บางส่วนยังไม่ได้ติดตามผลการศึกษาของคณะกรรมาธิการ ซึ่งหากไม่พอใจก็สามารภอภิปรายเพิ่มเติมได้ และนายกรัฐมนตรีเองต้องการลดความขัดแย้งให้ได้มากที่ ซึ่งทางสภาฯก็ควรจะทำไปทิศทางเดียวกัน จะทำให้บรรยากาศน่าจะดี เช่นเดียวกับการชุมนุมของนักเรียนหน้ากระทรวงศึกษาธิการ ที่รัฐมนตรีว่าการนั้นออกมารับฟังปัญหา ทำให้สังคมหันหน้าเข้าหากันมากกว่าการเผชิญหน้า