กฟผ.เตรียมแผนลดสำรองไฟฟ้าสูงถึง 40% เล็งชงรัฐเจรจาเอกชนปลดโรงไฟฟ้าเก่าออกจากระบบเร็วขึ้น คาดใช้วงเงินประมาณหมื่นล้าน ดันแผนขายไฟเพื่อนบ้าน

Highlight, สังคม
20 สิงหาคม 2020

นายวิบูลย์ ฤกษ์ศิระทัย ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยว่า จากกรณีที่สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ระบุว่า ปริมาณสำรองไฟฟ้าของประเทศไทย ปัจจุบันอยู่ในระดับสูงถึง 40% จากเกณฑ์ที่เหมาะสมควรอยู่ที่ 15% นั้น ในส่วนของ กฟผ.ได้จัดเตรียมแผนไว้หลายแนวทางเพื่อลดสำรองไฟฟ้า เช่น การเชื่อมต่อไฟฟ้าระหว่างประเทศ เพื่อขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางซื้อขายไฟฟ้าอาเซียน หรือฮับไฟฟ้าในภูมิภาคนี้ โดยจะต้องสร้างสายส่งไฟฟ้ารองรับเชื่อมต่อขายไฟฟ้าไปยังเมียนมาและกัมพูชา เป็นต้น

รวมถึง การจัดทำโครงการดึงไฟฟ้าส่วนที่เหลือจากสถานีส่งจ่ายไฟฟ้า จัดทำเป็นห้องเย็นใช้บริการเกษตรกรในพื้นที่เพื่อเก็บรักษาผักและผลไม้ ซึ่งจะเป็นการช่วยเหลือเกษตรกร วิสาหกิจชุมชนตามภาคต่างๆ โดยอาจจะเป็นลักษณะการใช้ไฟฟ้าฟรี หรือจัดเก็บค่าบริการในราคาต่ำ ก็ต้องพิจารณารายละเอียดต่อไป

นายบุญญนิตย์ วงศ์รักมิตร รองผู้ว่าการธุรกิจเกี่ยวเนื่อง กฟผ. กล่าวว่า กฟผ.ได้ศึกษาและเตรียมนำเสนอต่อกระทรวงพลังงาน พิจารณาเจรจากับภาคเอกชนประเภทโครงการผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ (IPP) ที่ปัจจุบันไม่ได้ถูกสั่งให้เดินเครื่องผลิตไฟฟ้า ให้ปลดระวางโรงไฟฟ้า เพราะเป็นโรงเก่ามีประสิทธิภาพต่ำ และจะหมดสัญญาเดินเครื่องประมาณปี 2564-2568 ประกอบด้วยโรงไฟฟ้าเอกชน 1-2 แห่ง และโรงไฟฟ้าของ กฟผ. 1-2 แห่ง โดยโรงไฟฟ้าเหล่านี้ปัจจุบันได้เฉพาะค่าความพร้อมจ่าย (AP) เท่านั้น

ดังนั้น หากจะเจรจากับภาคเอกชนที่เป็นเจ้าของโรงไฟฟ้าเหล่านี้ดำเนินการปลดระวางโรงไฟฟ้าเร็วขึ้น ก็จะช่วยลดภาระสำรองไฟฟ้า แต่ก็ควรเจรจาจ่ายค่าความพร้อมจ่ายเป็นเงินก้อนเดียวจบ และจ่ายในวงเงินที่น้อยกว่าการจ่ายต่อปีในทุกปีตาม

นายกิจจา ศรีพัฑฒางกุระ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บริษัทพร้อมเจรจากับภาครัฐเพื่อให้เกิดประโยชน์ในการลดสำรองไฟฟ้าของประเทศ แต่ทั้งนี้ผลประโยชน์ของบริษัทจะต้องไม่เสียหาย ครอบคลุมค่าความพร้อมจ่าย (AP) และสิ่งสำคัญไม่แน่ใจว่าภาครัฐจะดำเนินการได้หรือไม่ ซึ่งต้องพิจารณาไม่ให้ผิดหลักเกณฑ์สินทรัพย์ไม่หมดอายุ ที่อาจจะถูกการตรวจสอบจากสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) โดยโรงไฟฟ้าเก่าของบริษัทที่ใกล้หมดอายุคือโรงไฟฟ้าราชบุรี เป็นโรงไฟฟ้าพลังความร้อน 2 ยูนิต กำลังการผลิตรวม 1,400 เมกะวัตต์ จะหมดอายุในปี 2568สัญญา เพื่อลดภาระของภาครัฐ โดยคาดว่าจะใช้วงเงินราวหมื่นล้านบาทในการดำเนินการ ส่วนจะใช้เงินจากส่วนใดก็ต้องเป็นหน้าที่ของภาครัฐที่จะพิจารณา

บทความที่เกี่ยวข้อง