“ปิยบุตร” ลั่น แก้ รธน.-ยุบสภา เป็นทางออกเดียวของก่อนที่ทุกอย่างจะลุกลามบานปลายมากกว่านี้

Highlight, การเมือง
16 สิงหาคม 2020

นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า เปิดบรรยายสาธารณะพิเศษ “ชวนสนทนาว่าด้วย ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข” โดยบางช่วงบางตอนกล่าวถึงการหยิบยกประเด็นเกี่ยวกับสถาบันฯนำมาซึ่งการเสนอข้อเรียกร้อง อันเป็นการจัดวางตำแหน่งแห่งที่ของสถาบันฯให้สอดคล้องกับระบอบประชาธิปไตย ที่สามารถอภิปรายได้อย่างเปิดเผยตรงไปตรงมาและพร้อมจะรับฟังความต่างด้วยท่าทีเปิดกว้าง เพื่อธำรงไว้ซึ่งสถาบันฯให้ดำรงอยู่คู่กับระบอบประชาธิปไตย ตนขอยืนยันได้ความปรารถนาดีด้วยในสังคมประชาธิปไตยบุคคลล้วนมีเสรีภาพในการแสดงออก

นายปิยบุตร ระบุว่าการเมืองเป็นเรื่องของการใช้ทรัพยากรเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม การเกิดขึ้นของรัฐเป็นไปเพื่อสนองความคิดที่ว่าอำนาจในการเมืองการปกครองควรจะถูกทำให้เป็นสถาบันเพื่อแยกรัฐออกจากตัวบุคคล กล่าวคือเมื่อบุคคลใดมาดำรงตำแหน่งนั่นหมายถึงว่าเขาผู้นั้นกำลังใช้อำนาจในนามของรัฐ มิใช่ในนามตนเอง แต่แรกเริ่มการถือกำเนิดของรัฐมาพร้อมกับระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชเพื่อสู้กับศาสนจักร กระทั่งแนวคิดประชาธิปไตยเริ่มถูกเผยแพร่ จากอำนวจรวมศูนย์ที่กษัตริย์กลายมาเป็นของประชาชนทุกคน

นอกจากนี้ นายปิยบุตร ยังกล่าวว่า ความชอบธรรมของผู้ปกครองรัฐในอดีต มักยึดโยงกับความเชื่อซึ่งเป็นการสร้างความชอบธรรมแบบโบราณ คือใช้ความสิทธิและเรื่องเล่า ต่างจากปัจจุบันที่ต้องมาจากการยอมรับนับถือหรือมาจากฉันทามติของประชาชนผู้ใต้ปกครอง ดังนั้นจึงมีการกำหนดกลไกการเลือกตั้งขึ้นมา ผู้ขึ้นมามีอำนาจจึงไม่อาจมาจากการบังคับให้คนมารักได้ แต่เกิดจากการยอมรับนับถือในสิ่งที่กระทำ

ได้เล่าย้อนประวัติศาสตร์หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ว่าในช่วงแรกมีปัญหาในการหาคำไทยมาแทนศัพท์ฝรั่ง ซึ่งตามเจตนารมย์ของคณะราษฎรต้องการเชิญ ร.7 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวมาเป็นกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยมีเงื่อนให้ตอมรับในระยะเวลาที่กำหนด มิฉะนั้นจะให้บุคคลสามัญขึ้นเป็นประมุขของรัฐ โดยปริยายคือระบอบประธานาธิปดีหรือสาธารณะรัฐ (Republic) ด้วยเหตุนี้จึงมีการใช้คำว่า ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ (Constitutional monarchy) หากทว่าเกิดความขัดแย้งกันระหว่างกลุ่มอำนาจเดิมคือพระมหากษัตริย์ และอำนาจใหม่คือประชาชนและรัฐสภาซึ่งเข้าแทนที่ ถือเป็นภาวะปรกติในทุกประเทศที่มีการเปลี่ยนแปลง จวบกระทั่งการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับที่ 2 โดยพระยามโนปกรณ์ ที่ได้ผ่านการรับรองและเห็นชอบโดย ร.7 ตามพระบรมวินิจฉัย รัฐธรรมนูญฉบับนี้จึงเปรียบเหมือนการประนีประนอม

กล่าวโดยสรุปนับแต่การปฏิวัติสยาม คำว่า ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ (Constitutional monarchy) มีการเลื่อนไหลไปตามยุคสมัย ขึ้นอยู่กับบริบทอำนาจของสถาบันในแต่ละช่วงเวลาและจินตนาการของคน แต่วันนี้กลายเป็นว่าระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขคืออัตลักษณ์ทางการเมืองไทยไปเรียบร้อยแล้ว ซึ่งไม่ว่าจะชอบหรือไม่ชอบก็แล้วแต่ ข้อเท็จจริงก็ปรากฏให้เห็นแล้ว เพราะรัฐธรรมนูญมีการระบุชัดเจนว่าการจะปรับเปลี่ยนหรือแก้ไขรัฐธรรมนูญใดๆ จะกระทบกับระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขไม่ได้

นายปิยบุตร ยังกล่าวอีกว่า สถาบันพระมหากษัตริย์ จะต้องมีลักษณะดังนี้ คือ ต้องประสานองค์ประกอบเข้าด้วยกัน พระมหากษัตริย์ต้องไม่ทรงทำอะไร ควรให้อำนาจแก่ฝ่ายบริหาร พระมหากษัตริย์ต้องอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ และ พระมหากษัตริย์ไม่ใช่ของประเทศแต่เป็นของประชาชนทุกคน

บทความที่เกี่ยวข้อง